Header Ads

วช.นำทัพงานวิจัยพร้อมใช้งานจริง กว่า 1,000 ผลงาน อวดศักยภาพสุดอลังการ ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน”

(7 ส.ค.66) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 หรือ Thailand Research Expo 2023 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” โดยมุ่งให้เกิดการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นเวทีสำคัญอีกเวทีหนึ่งในการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ ในปีนี้ก้าวสู่ปีที่ 18 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 22-23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร และในวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานในวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น.

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้ มีผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงกว่า 1,000  ผลงาน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อาทิ นวัตกรรมอาหารฟังก์ชั่นมูลค่าสูง ซุปกึ่งสำเร็จรูปรสไทยตำรับผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ไข่ต้มพืชสะดวกเก็บสะดวกกินพลัส มหาวิทยาลัยรังสิต การบริหารพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชอย่างยั่งยืนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจมูลค่าสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การพัฒนาเชื้อเพลิงเคมีชีวภาพจากตะกอนน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะผสม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อาทิ โครงการ ฟื้นฟู และต่อยอดผ้าลายอย่างเอกลักษณ์อยุธยา “จุฬาพัสตร์”สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 

การพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับสังคมอย่างยั่งยืน อาทิ แพลตฟอร์มเพื่อการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) อุปกรณ์ตรวจวัดการยึดของเอ็นรอบข้อ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ​งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อาทิ ANSEE KHAO YAI นวัตกรรมเพื่อสร้างการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  การปนเปื้อนและการบำบัดไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพชุมชน อาทิ การใช้ประโยชน์จากโปรตีนจิ้งหรีดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนอลฟู้ด สูตรโปรตีนสูง ไขมันต่ำ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เถาว์จันท์-3 วัฒนธรรม สู่การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โคมไฟเซราสาน มหาวิทยาลัยบูรพา ฯลฯ 

นอกจากนี้ ภายในงานยังประกอบด้วย นิทรรศการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการวิจัยไทย” และ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 10 และ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 

นิทรรศการวิจัยสร้างสีสัน ในรูปแบบของ Research Festival นิทรรศการ Research Utilization ศาสตร์ ศิลป์งานวิจัย นิทรรศการเครือข่ายวิจัยภูมิภาค  นิทรรศการวิจัยขายได้ นิทรรศการผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา นิทรรศการวิจัยหนุนเศรษฐกิจชุมชน (Power RI for Community Economy) นิทรรศการ Research Utilization รวมผลงานวิจัยจำนวนมากกว่า 700 ผลงาน รวมถึงการจัดประชุมที่มีหัวข้อการประชุมมากกว่า 100 หัวข้อเรื่อง หลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ และกิจกรรม อื่นๆ ซึ่งส่งเสริมศักยภาพบุคลากรการวิจัย อาทิ กิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา กิจกรรมนำเสนอบทความผลงานวิจัย Thailand Research Expo & Symposium 2023 และกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัย และในปีนี้ วช.ประกาศแต่งตั้ง “นายพิพัฒน์  อภิรักษ์ธนากร” ให้เป็นทูตวิจัยมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566  ซึ่งเพื่อเป็นตัวแทนพลังคนรุ่นใหม่ในการสื่อสารงานวิจัยให้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัว อีกด้วย 

ดร.วิภารัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า พลังแห่งความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ในการร่วมจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 18 นี้ นับเป็นการสานพลังบูรณาการที่เข้มแข็ง เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้ากับการเตรียมความพร้อมในโลกอนาคตที่กำลังจะมาถึง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม  ในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 Thailand Research Expo 2023 “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” 

ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.researchexpo.nrct.go.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2579-1370-9 ต่อ 515, 517, 518 










No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.