สวพส. “คว้า 6 รางวัลเลิศรัฐ” ประจำปี 2566 เผย แต่ละรางวัลตอบโจทย์การพัฒนาบนพื้นที่สูงได้อย่างยอดเยี่ยม
ในปี 2566 สวพส. คว้า 6 รางวัลเลิศรัฐ”จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิษณุ เครืองาม เป็นประธานและผู้มอบรางวัล ณ ห้อง Grand Diamond Ballroom ชั้น 2 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยในปีนี้มีหน่วยงานสมัครเข้ารับรางวัลทั้งสิ้น 1,946 ผลงาน และผ่านการพิจารณาให้ได้รับรางวัล จำนวน 238 รางวัล
โดย นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง นำทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สวพส. เข้าคว้ารางวัลเลิศรัฐ รวม 6 รางวัล ได้แก่1. รางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เรื่อง "คู่วิถีชุมชนอยู่ร่วมกับป่าสมบูรณ์ ตอบโจทย์พื้นที่สูง"
2. รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดี เรื่อง "ระบบตลาดน่าน” สร้างคุณค่าสู่สังคมคุณภาพด้วยเศรษฐกิจสีเขียว
3. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ระดับดีเด่น เรื่อง "เกษตรอินทรีย์ แก้จน คนต้นน้ำ"
4. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ระดับดีเด่น เรื่อง "บ้านสว่าง ทางไกล ร่วมใจ ไม่จน"
5. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม ระดับดี เรื่อง "ปางยางปรับวิถี คืนผืนป่า ลดปัญหาความขัดแย้ง"
6. รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ระดับก้าวหน้า (ADVANCE)
รางวัลเลิศรัฐ เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มอบให้หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู หน่วยงานที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จและมีความเป็นเลิศ จากผลงานการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและการบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพของหน่วยงาน จะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม ทัดเทียมมาตรฐานสากล และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง และสำนักงาน ก.พ.ร. จะได้เผยแพร่ผลงานของหน่วยงานต้นแบบเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการและการบริหารงาน และผลักดันให้หน่วยงานขยายผลการดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมถึงต่อยอดสนับสนุนผลงานที่มีความโดดเด่นเพื่อส่งสมัครางวัลประเภทต่าง ๆ ในระดับสากลต่อไปทั้งนี้ สวพส. เรามีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนบนพื้นที่สูงที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดาร ควบคู่กับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยรูปแบบการพัฒนาแบบโครงการหลวง ปรับเปลี่ยนเกษตรแบบดั้งเดิม เป็นการทำระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งระบบมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP: Good Agricultural Practices) และระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) ใช้พื้นที่น้อย แต่ได้ผลผลิตที่คุ้มค่า ลดการใช้สารเคมี เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับผืนป่า จัดทำแผนที่ดินรายแปลงเพื่อวางแผนการพัฒนาและแบ่งแยกพื้นที่ป่าออกจากพื้นที่ทำกิน ใช้ตลาดนำการผลิต เน้นพัฒนาองค์ความรู้ สร้างเกษตรกรผู้นำ พัฒนาชุมชมให้เกิดความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งรางวัลที่ได้รับถือเป็นภารกิจสำคัญที่สะท้อนผ่านผลงานที่มีความโดดเด่นในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และการเปิดระบบราชการให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม รางวัลที่ได้รับเป็นเหมือนแรงขับเคลื่อนให้ สวพส. ดำเนินงานยกระดับการพัฒนาให้ชุมชนบนพื้นที่สูง อยู่ดีมีสุข ด้วยการวิจัยและพัฒนา สืบสาน รักษา ต่อยอดงานโครงการหลวงสืบไป
No comments